วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

รายการก้าวทันประกันภัย : คุณภณชา เปลี่ยนเฉย


การทำงานแบบผู้บริหารมืออาชีพ คุณภณชา เปลี่ยนเฉย รองผู้อำนวยการฝ่ายขาย (ภาคกลาง) 
บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) สำนักงานเอกาทศรถ จังหวัดพิษณุโลก 
แนวคิดการทำงาน จงเปลี่ยน “ความล้มเหลว” ให้เป็นปุ๋ยของ “ความสำเร็จ” ภณชา เปลี่ยนเฉย

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

7 ช่องทางออมเงินให้ประหยัดภาษี

สำหรับการเสียภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไปแยกเป็น 2 ส่วน คือ ผู้มีเงินได้ประจำ และผู้มีเงินได้ไม่ประจำ กรณีบุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินได้ประจำประเภทเงินเดือนรวมถึงโบนัส ต้องนำมารวมคำนวณภาษีโดยรวมกับเงินเดือนที่ได้รับ และใช้แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 91 ยื่นเสียภาษีระหว่างวันที่ 1 มกราคม – วันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป โดยนำเงินที่ได้รับทั้งปีมาคำนวณภาษี

ทั้งนี้ รายได้ประจำมีสิทธิทางภาษีที่สามารถนำมาคำนวณภาษีหักค่าใช้จ่ายได้ 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท จากนั้นยังมีสิทธิทางภาษีให้หักค่าลดหย่อนต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ค่าลดหย่อนของผู้มีเงินได้ ค่าลดหย่อนคู่สมรส ค่าลดหย่อนบุตร ค่าลดหย่อนอุปการะบิดามารดา ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม RMF และ LTF ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย และเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นต้น จากนั้นนำเงินได้ที่เหลือมาหักออกจากเงินบริจาค เหลือเงินได้สุทธิเท่าใดให้นำมาคำนวณภาษีตามตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากเงินได้สุทธิที่หักค่าลดหย่อนพื้นฐานแล้วมีจำนวนไม่เกิน 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี

จะเห็นได้ว่า ผู้มีเงินได้ประจำสามารถหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนได้ และหากต้องการลดภาระภาษี ก็ควรบริหารจัดการแผนการออมและการลงทุนเพื่อให้ได้ค่าลดหย่อนมาหักออกจากเงินได้ให้เหลือน้อยที่สุด ผู้ออมจึงได้ประโยชน์ 2 ต่อ คือ 1. ได้ออมเพื่อให้มีเงินใช้อย่างสบายหลังเกษียณ และ 2. ได้ลดภาระทางภาษี

ทีนี้เราลองมาดูกันว่า มีทางเลือกการออมอะไรบ้างที่ช่วยให้เราประหยัดภาษี

รายการเงินได้ที่ได้รับยกเว้น

1. เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) เป็นระบบการออมเพิ่มที่ดีมากสำหรับภาคเอกชน หากบริษัทของท่านมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ควรออมให้เต็มกำลัง เพราะเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อรวมกับเงินซื้อหน่วยลงทุน RMF (ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป) จำนวนรวมไม่เกิน 500,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2. เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นระบบการออมภาคบังคับสำหรับข้าราชการ ท่านที่เป็นข้าราชการจะต้องสมทบร้อยละ 3 ของเงินเดือนทุกเดือน ในปัจจุบัน กบข. ได้เปิดโครงการออมเพิ่มเพื่อให้สมาชิกสามารถสะสมเงินเข้ากองทุนได้สูงสุดถึงร้อยละ 15 ของเงินเดือน ท่านที่เป็นข้าราชการจึงควรสมทบเงินเข้ากองทุน กบข. ให้เต็มกำลัง ทั้งนี้ เงินสะสมเข้ากองทุน กบข. เมื่อรวมกับเงินซื้อหน่วยลงทุน RMF จำนวนรวมไม่เกิน 500,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

รายการลดหย่อนและยกเว้นหลังหักค่าใช้จ่าย

3. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม กองทุนประกันสังคมเป็นระบบการออมภาคบังคับสำหรับภาคเอกชน เงินสมทบที่ท่านถูกหักร้อยละ 5 จากเงินเดือนทุกเดือน สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ ตัวอย่างเช่น ท่านมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป เนื่องจากกองทุนประกันสังคมมีเพดานการจัดเก็บเงินสมทบจากฐานค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท ท่านจึงสมทบร้อยละ 5 ของเพดานค่าจ้าง 15,000 บาท เป็นจำนวนรวม 750 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 9,000 บาทต่อปี เงินจำนวนนี้สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้

จะเห็นได้ว่า เงินที่ท่านสมทบกองทุนประกันสังคมเป็นประจำทุกเดือนนั้น นอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และว่างงาน ท่านยังได้ออมเพื่อให้มีเงินใช้หลังเกษียณ (สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ) และยังช่วยลดภาระภาษีได้อีกด้วย

4. เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF) เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจ มีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลายเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ตั้งแต่กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ ไปจนถึงกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูง เน้นลงทุนในหุ้น

กองทุน RMF เหมาะสมมากสำหรับผู้ที่ไม่มีสวัสดิการรองรับ เช่น ไม่ได้สมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคม หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพราะเป็นการสร้างระบบการออมระยะยาวให้กับตนเอง แต่ผู้ที่มีสวัสดิการรองรับแล้วก็สามารถออมเพิ่มเติมกับ RMF ได้

เงินซื้อหน่วยลงทุน RMF สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่ลงทุนจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท นอกจากนี้ กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาการลงทุนใน RMF เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้น มีเงื่อนไขดังนี้

จะต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปีโดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง และ ลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท (แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า) และ ไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน และลงทุนและถือหน่วยลงทุนจนผู้ลงทุนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และมีการลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก

5. เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund หรือ LTF) เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจเช่นเดียวกับกองทุน RMF ต่างกับ RMF ตรงที่กองทุน LTF เน้นลงทุนในหุ้น แต่ RMF มีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลายเหมือนกองทุนรวมทั่วไป

ทั้งนี้ เงินซื้อหน่วยลงทุน LTF สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่ลงทุนจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาท นอกจากนี้ กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การลงทุนใน LTF เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้น มีเงื่อนไขว่าจะต้องซื้อและถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับตามปีปฏิทิน) ทั้งนี้ การให้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการซื้อ LTF เกิดจากการที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนให้ลงทุนในหุ้นมากขึ้น จึงมีระยะเวลาในการสนับสนุนที่แน่นอนคือ ให้สิทธินำ LTF มาลดหย่อนได้จนถึงปี พ.ศ. 2559 และไม่บังคับว่าต้องถือต่อเนื่องจนอายุ 55 ปี แต่จะให้สิทธิประโยชน์ในการซื้อเป็นรายปี

6. เบี้ยประกันชีวิต การซื้อประกันชีวิตจัดเป็นส่วนผสมระหว่างการออมภาคสมัครใจและการคุ้มครองกรณีเสียชีวิต โดยผู้ซื้อประกันออมเงินด้วยการชำระเบี้ยประกัน และจะได้รับเงินคืนตามสัญญาหากเสียชีวิตหรือเมื่อสัญญาครบกำหนด เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร

7. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย การกู้ซื้อบ้านจัดเป็นการออมที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิตของเราทุกคน เนื่องจากบ้านถือเป็นทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ได้ คือ เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับตนเองและครอบครัว การมีบ้านเป็นของตนเองถือเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวและเป็นการลงทุนระยะยาวที่คุ้มค่า หากเราสามารถกู้ซื้อบ้านในช่วงวัยเริ่มทำงาน คือ อยู่ในช่วงอายุ 25 – 35 ปี และผ่อนชำระหมดภายในเวลา 15-20 ปี เราจะสามารถมีบ้านเป็นทรัพย์สินของตนเองและครอบครัวก่อนถึงวันที่เกษียณจากการทำงาน

ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 เป็นต้นไป

โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ดังนี้
www.thaimutualfund.com สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน RMF และ LTF
www.rd.go.th สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับภาษี

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชื่อใหม่กับความมั่นคงคงเดิม อลิอันซ์ อยุธยา เคียงข้างทุกจังหวะชีวิต


อลิอันซ์ อยุธยา เคียงข้างทุกจังหวะชีวิต.อลิอันซ์ อยุธยา คือหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตชั้นนำของไทยที่เกิดจากความร่วมมือของ 2 บริษัทพันธมิตรที่มีชื่อเสียงอย่าง กลุ่มธนาคารกรุงศรีอยุธยา กลุ่มอลิอันซ์จากประเทศเยอรมนี และ ส่งผลให้ อลิอันซ์ อยุธยา เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจประกันชีวิตระดับโลกและมีความรู้ความชำนาญในตลาดผู้บริโภคไทย
•ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2494 และอยู่เคียงข้างคนไทยมายาวนานกว่า 60 ปี
•ทุนจดทะเบียนสูงถึง 4,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อตั้งถึง 400 เท่า
•สินทรัพย์รวมสูงถึง 9.8 หมื่นล้านบาท ณ 30 กันยายน 2553

•ปัจจุบันได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ากว่า 1.6 ล้านกรมธรรม์

•หนึ่งในบริษัทพันธมิตรอย่างกลุ่มอลิอันซ์เป็นบริษัทฯ ระดับโลกที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินจากสถาบันชั้นนำให้อยู่ในระดับคงที่แม้ในยามที่ต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ อาทิ S&P เรทติ้ง AA (ณ 7 ก.ย.53) AM Best เรทติ้ง A+ ( ณ 13 เม.ย.53) และ Moody’s เรทติ้ง Aa3 (ณ 22 พ.ย.53)

ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า อลิอันซ์ อยุธยา จะเป็นปัจจัยหลักแห่งความมั่นคงคุ้มครองทุกครอบครัวไทย เราจึงใส่ใจกับทุกความต้องการของลูกค้าและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้าและบริการของเราต่อไป เพื่อให้ลูกค้า

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. โชว์ผลงานไตรมาสแรกสวย ดันยอดเบี้ยประกัน ช่องทางตัวแทนโต 15% แตะ 563 ล้านบาท

อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. โชว์ผลประกอบการแข็งแกร่งในไตรมาสแรก ปี 2555 ยอดเบี้ยประกันภัยรับรวมจากทุกช่องทางคิดเป็นมูลค่า 5,097 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 54 เบี้ยประกันภัยรับปีแรกเติบโตอย่างต่อเนื่องคิดเป็นมูลค่า 1,166 ล้านบาท โดยช่องทางตัวแทนยังคงเป็นช่องทางหลัก ปั๊มเบี้ยประกันภัยรับปีแรกสูงถึง 563 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% ขณะที่ช่องทางการตลาดขายตรงกอดตำแหน่งแชมป์ของตลาดอีกสมัยด้วยยอดเบี้ยประกันภัยรับปีแรกอยู่ที่ 250 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลั่นเดินหน้ากลยุทธ์ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ตอกย้ำ ‘ปีแห่งการเติบโต’ เพื่อพิชิตเป้าเบี้ยประกันภัยรับรวมทุกช่องทาง 23,000 ล้านบาท ในสิ้นปี

นายไบรอัน สมิธ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต เปิดเผยว่า จากการดำเนินกลยุทธ์ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่ว่า “อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. จะเป็นปัจจัยหลักแห่งความมั่นคง คุ้มครองทุกครอบครัวไทย” และจากการกำหนดให้ปี 2555 เป็น ‘ปีแห่งการเติบโต’ ในทุกช่องทางการขาย โดยเน้นเป็นพิเศษที่ช่องทางที่ใหญ่ที่สุดของเรา คือ ช่องทางตัวแทน ผลปรากฏว่ากลยุทธ์นี้ได้กระตุ้นให้เกิดผลงานที่เป็นผลสำเร็จชัดเจนในไตรมาสแรกนี้ โดยสามารถสร้างผลงานยอดเบี้ยประกันภัยรับปีแรกคิดเป็นมูลค่า 563 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 15% ถือเป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีการเติบโตเร็วที่สุดจากช่องทางนี้เป็นอันดับ 4

“ผลประกอบการของบริษัทในไตรมาสแรกปี 2555 เติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกช่องทาง โดยเฉพาะช่องทางตัวแทนซึ่งทำรายได้หลักให้กับบริษัทฯ มีสัดส่วน 47% ทำเบี้ยประกันภัยรับปีแรกได้สูงถึง 563 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงกว่าตลาดที่เติบโตอยู่ที่ 11% เป็นผลมาจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทและตัวแทนที่ทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งนำเสนอสินค้าและบริการที่ดีเยี่ยมแก่ลูกค้า ขณะที่ช่องทางการตลาดขายตรงที่มีสัดส่วนเป็น 21% สามารถสร้างยอดเบี้ยประกันภัยรับปีแรกได้ 250 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และเป็นช่องทางที่เราครองความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดประกันชีวิตไทย ผลงานที่ยอดเยี่ยมนี้ เป็นผลมาจากความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและการทำงานร่วมกันอย่างดีของบริษัทฯ กับพันธมิตรในส่วนต่างๆ ซึ่งอยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. จะมุ่งมั่นสร้างความไว้วางใจด้วยผลงานที่เป็นเลิศต่อไป” นายไบรอัน กล่าว

“สำหรับกลุ่มอลิอันซ์ เยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นหลักของบริษัทฯ ก็มีผลประกอบการที่ยอดเยี่ยมในไตรมาสแรกของปีนี้เช่นกัน โดยสามารถ
  • ทำรายได้รวมเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นที่สองในประวัติการณ์ มาอยู่ที่ 30.1 พันล้านยูโร
  • กำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 40.4% มาแตะที่ 2.3 พันล้านยูโร
  • กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 57.9% มาแตะที่ 1.4 พันล้านยูโร
  • สถานะของเงินทุนยังคงแข็งแกร่ง โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุน (Solvency ratio) อยู่ที่ 183%
  • ธุรกิจประกันวินาศภัย ธุรกิจประกันชีวิตและสุขภาพ และธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ทำผลงานได้ดีเยี่ยมในทุกภาคส่วน
“ด้วยสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของกลุ่มอลิอันซ์ และผลการดำเนินงานอันดีเยี่ยมที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกช่องทางการขาย ผนวกกับการมุ่งเน้นเพื่อมอบบริการที่เป็นเลิศ และนวัตกรรมให้กับลูกค้า ฝ่ายขาย และพันธมิตรทางธุรกิจ จะทำให้อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ขับเคลื่อนไปสู่ “ปีแห่งการเติบโต” ได้อย่างแน่นอน เราเชื่อมั่นว่าบริษัทฯ จะสามารถพิชิตเป้าเบี้ยประกันภัยรับรวม 23,000 ล้านบาท จากทุกช่องทางได้ในปี 2555 นี้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. จะยังคงมุ่งมั่นที่จะให้ความคุ้มครองทุกครอบครัวไทยในทุกช่วงจังหวะของชีวิต” นายไบรอัน กล่าวสรุป

กรุงเทพฯ
29 พฤษภาคม 2555

มาย สมาร์ท แพลน 15/10 (มีเงินปันผล)

เหนือกว่าด้วยเงินจ่ายคืนที่เพิ่มขึ้น พร้อมโอกาสรับเงินปันผลเพิ่มเติม


แผนการออมเพื่อคุณและคนพิเศษ

  • รับเงินจ่ายคืนทุก 2 ปี ในอัตราที่เพิ่มขึ้น 1.5%, 2%, 2.5%, 3%,
    3.5%, 4% และ 5% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
    ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 2, 4, 6, 8, 10, 12 และ 14 ตามลำดับ

มอบความคุ้มครองชีวิต

  • รับความคุ้มครองชีวิตสูงสุด 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
    หรือเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ หรือเบี้ยประกันภัยที่ได้ชำระมาทั้งหมด
    ทั้งนี้ไม่รวมเบี้ยประกันภัยเพิ่มพิเศษ เบี้ยประกันภัยสำหรับบันทึก
    สลักหลังอื่นๆ และ/หรือสัญญาเพิ่มเติมอื่นๆ (ถ้ามี)

รับผลประโยชน์เมื่อครบกำหนดสัญญา

  • รับเงินครบกำหนดสัญญา 131% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย

รับผลประโยชน์ทางภาษี

  • เบี้ยประกันภัยสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี (ภายใต้กฎเกณฑ์ของกรมสรรพากร)

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

สาระน่ารู้เกี่ยวกับการใช้เบี้ยประกันชีวิต

เพื่อหักลดหย่อนภาษี.คุณรู้หรือไม่...ว่าเบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้ สูงถึง 100,000* บาท แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของกรมสรรพากร .. .เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับคุณในการใช้สิทธินี้อย่างถูกต้อง มาดูรายละเอียดกันดีกว่าว่ากรมสรรพากรวางเงื่อนไขในการใช้สิทธิดังกล่าวไว้อย่างไรบ้าง

1. ต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
2. ต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสม (ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์ หรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดการชำระเบี้ยประกันชีวิต หรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์)
3. เบี้ยประกันชีวิตที่นำไปลดหย่อนภาษีเงินได้ ต้องเป็นเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ประกันชีวิตหลักเท่านั้น
4. เบี้ยประกันชีวิตสำหรับสัญญาเพิ่มเติม (เช่น อุบัติเหตุ/สุขภาพ เป็นต้น) ไม่สามารถนำไปใช้หักลดหย่อนภาษีเงินได้ได้
*ครม. อนุมัติ เพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีจากการซื้อประกันชีวิต

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2553 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเพิ่มวงเงินการให้หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมไม่เกิน 100,000 บาท เป็นไม่เกิน 300,000 บาท โดยจำนวนค่าเบี้ยประกันภัยในวงเงินส่วนที่เพิ่มขึ้น 200,000 บาท นี้ เฉพาะสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญเท่านั้น ซึ่งค่าเบี้ยประกันในส่วนนี้จะต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน และเมื่อรวมค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนประเภทต่างๆ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ กฎเกณฑ์ดังกล่าวคาดว่าจะมีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี 2553 ที่ต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ในช่วง มีนาคม 2554 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งจะต้องรอการประกาศของสรรพากรอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยเราจะนำรายละเอียดมาแจ้งให้ทราบต่อไป

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติบริษัท 60 ปีแห่งความไว้วางใจ เคียงข้างคนไทยทุกจังหวะชีวิต

อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. 60 ปีแห่งความไว้วางใจ

เคียงข้างคนไทยทุกจังหวะชีวิต.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. คือหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตชั้นนำของไทยที่เกิดจากความร่วมมือของ 3 บริษัทพันธมิตรที่มีชื่อเสียงอย่าง กลุ่มธนาคารกรุงศรีอยุธยา กลุ่มอลิอันซ์จากประเทศเยอรมนี และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่งผลให้ อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจประกันชีวิตระดับโลกและมีความรู้ความชำนาญในตลาดผู้บริโภคไทย

• ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2494 และอยู่เคียงข้างคนไทยมายาวนานถึง 60 ปี
• ทุนจดทะเบียนสูงถึง 4,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อตั้งถึง 400 เท่า
• สินทรัพย์รวมสูงถึง 9.8 หมื่นล้านบาท ณ 30 กันยายน 2553
• ปัจจุบันได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ากว่า 1.6 ล้านกรมธรรม์
• หนึ่งในบริษัทพันธมิตรอย่างกลุ่มอลิอันซ์เป็นบริษัทฯ ระดับโลกที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินจากสถาบันชั้นนำให้อยู่ในระดับคงที่แม้ในยามที่ต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ อาทิ S&P เรทติ้ง AA (ณ 7 ก.ย.53) AM Best เรทติ้ง A+ ( ณ 13 เม.ย.53) และ Moody’s เรทติ้ง Aa3 (ณ 22 พ.ย.53)

ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. จะเป็นปัจจัยหลักแห่งความมั่นคงคุ้มครองทุกครอบครัวไทย เราจึงใส่ใจกับทุกความต้องการของลูกค้าและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้าและบริการของเราต่อไป เพื่อให้ลูกค้าทุกคนมั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจังหวะชีวิตจะเป็นเช่นไร ก็วางใจได้เสมอว่าจะมี อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. เคียงข้างทุกจังหวะชีวิต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.081-5339770 และ 081-7791353 คุณวิษณุ AACP
E-mail : wisanu.no@aacpagency.com